วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

[ ข่าวเคมีและเกร็ดความรู้7 ]

เอทานอล (ethanol) แอลกอฮอล์กินได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แอลกอฮอล์ ดื่มได้


แอลกอฮอล์คืออะไร

        แอลกอฮอล์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันไฮดรอกซิล Hydroxyl (-OH) ทำพันธะกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิล (R-) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง เมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะ จะเกิดปฏิกิริยาแทนที่และให้ก๊าซไฮโดรเจน ออกมา ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติทางเคมีที่ใช้บ่งบอกความเป็นแอลกอฮอล์ได้
        ลักษณะทั่วไปที่สำคัญของแอลกอฮอล์ คือ เป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟได้ และสามารถละลายน้ำได้ดีเพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแบบมีขั้ว (Dipole Interactions) ซึ่งทำให้แอลกอฮอล์สามารถละลายน้ำได้ดีเนื่องจากเป็นสารละลายมีขั้วเหมือนกันกับน้ำ

แอลกอฮอล์แบบไหนกินได้

        เรารู้กันอยู่แล้วว่าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่าง ๆ นั้นสามารถกินได้ ถึงแม้ว่าจะกินแล้วเมา ๆ หน่อยก็เถอะ แต่แอลกอฮอล์แบบไหนกันล่ะที่สามารถกินได้ คำตอบก็คือ เอทานอล (Ethanol) หรือเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) มีสูตรเคมีคือ C2H5OH หรือ CH3-CH2-OH

การผลิตเอทานอล

        เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักน้ำตาล หรือใช้ในการหมักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ สุรา ที่ใช้พืชตระกูลข้าวโพด มอลต์ ข้าวบาร์เลย์ในการหมักควบคู่กับยีสต์ เอนไซม์จากยีสต์ที่ผสมลงไปจะคอยทำหน้าที่เปลี่ยนให้คาร์โบไฮเดรตในพืชชนิดดังกล่าวเป็นน้ำตาลกลูโคส และเปลี่ยนจากน้ำตาลกลูโคสเป็นเอทานอลในที่สุด
        ในส่วนของแอลกอฮอล์สำหรับการบริโภค สามารถบริโภคได้แน่นอนในปริมาณที่เหมาะสม ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มต้องเป็นไปตามปริมาณการดื่ม 1 ดื่มมาตรฐาน

เอทานอลที่ห้ามกิน 

        นอกจากการดื่มแล้ว แอลกอฮอล์อย่างเอทานอลยังใช้ผสมในเครื่องสำอางหรือล้างแผลได้ เพราะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ต้องใช้ในปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสม แต่สำหรับส่วนของแอลกอฮอล์สำหรับใช้ภายนอกหรือเรียกว่า เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์นั้น ไม่สามารถกินได้ เพราะเกินปริมาณที่ร่างกายจะรับได้ อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้

แหล่งที่มา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น